28 September 2009

โอกาสของสินค้าเกษตรไทยในไต้หวัน


eatseasonably.co.uk โดยปกติแล้วไต้หวันไม่ใช่ตลาดส่งออกหลักของสินค้าเกษตรไทย เนื่องจากไต้หวันเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความก้าวหน้าด้านการเกษตรเป็นอย่างมาก สามารถผลิตผักและผลไม้ได้เป็นจำนวนมาก และหลายชนิดวางขายในราคาที่ถูกกว่าประเทศไทย แต่หลังจากที่ไต้หวันหันมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาอุตสาหกรรมไฮเทคมากขึ้น การผลิตสินค้าเกษตรจึงลดความสำคัญลง โดยส่วนใหญ่เป็นการผลิตเพื่อบริโภคภายในประเทศเท่านั้น และจะนำเข้าเฉพาะในช่วงนอกฤดูการผลิต (กรกฎาคม-กันยายนของทุกปี) ซึ่งเป็นช่วงที่พายุไต้ฝุ่นพัดผ่านเกาะไต้หวัน และมักสร้างความเสียหายให้แก่พื้นที่เกษตรของไต้หวันเป็นบริเวณกว้าง

 

Trade Update ฉบับนี้ จึงขอแนะนำข้อมูลที่น่าสนใจและกฎระเบียบที่ผู้ส่งออกควรทราบในการส่งออก สินค้าเกษตรไปยังไต้หวัน ดังนี้


ตลาดค้าส่งสินค้าพืชผักที่สำคัญในไต้หวันมีอยู่ 6 แห่ง กระจายอยู่ทั่วประเทศ ประกอบด้วย ตลาดไทเป 1 และ 2 (ภาคเหนือ) ตลาดซีหลัว เมืองยวินหลิน และตลาดซีหู เมืองจางฮว่า (ภาคกลาง) ตลาดเมืองเกาสงและตลาดเมืองผิงตง (ภาคใต้) ซึ่งสินค้าส่วนใหญ่ ทั้งที่ผลิตจากในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ จะถูกนำมาประมูลในตลาดค้าส่งก่อนจะเปลี่ยนมาสู่ผู้ค้าปลีกต่อไป

สินค้าผักสดสำคัญที่ไต้หวันนำเข้าจากต่างประเทศ ได้แก่ กะหล่ำดอก บร็อกโคลิ หน่อไม้ฝรั่ง หอมหัวใหญ่ กระเทียม ถั่วลันเตา เห็ดหูหนู ผักกาดแก้ว และกะหล่ำพันธุ์ต่าง ๆ โดยนำเข้าหน่อไม้ฝรั่งจากไทยมากที่สุด คิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 57.92 ของการนำเข้าทั้งหมด ส่วนสินค้าเกษตรที่ไต้หวันต้องการนำเข้าเพิ่มเติม ได้แก่ กะหล่ำปลี ผักกาดขาวปลี ผักกาดหวานหรือสลัดคอส (Romaine Lettuce/ Cos Lettuce) ผักกาดหอมห่อ หัวไชเท้า พริก ผักชี ขึ้นฉ่าย ผักกวางตุ้ง ผักกาดแก้ว เป็นต้น

learners.in.th อย่างไรก็ดี ไต้หวันมีหน่วยงานที่ดำเนินการตรวจกักกันโรคพืชและสารตกค้างอย่างเข้มงวด ทำให้ขณะนี้ไทยยังไม่สามารถส่งออกผักหลายชนิดไปไต้หวันได้ อาทิ มะเขือ พริก ถั่วฝักยาว และผักชี ดังนั้นผู้ส่งออกไทยจึงควรใช้ความระมัดระวังในกระบวนการบรรจุผลิตภัณฑ์และการใช้ยา ฆ่าแมลงเพื่อให้สามารถผ่านมาตรฐานของฝ่ายไต้หวัน นอกจากนี้ สินค้าเกษตรที่ส่งออกไปยังไต้หวันต้องมีหนังสือรับรองสุขอนามัยพืช (Phytosanitary Certificate) และหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Certificate of Origin) ซึ่งผู้ส่งออกอาจต้องใช้หลักฐานประกอบเพิ่มเติม อาทิ ภาพถ่ายของแหล่งผลิต วิธีการบรรจุผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ศุลกากรไต้หวันมั่นใจว่าสินค้านั้น ๆ มีแหล่งกำเนิดในประเทศไทยจริง ทั้งนี้ อัตราภาษีนำเข้าของไต้หวันอยู่ที่ร้อยละ 0 - 30 (สินค้ากระเทียมสด เรียกเก็บในอัตรา 27 ดอลลาร์ไต้หวันต่อกิโลกรัม)

สำหรับการนำ เข้าสินค้าเกษตรอินทรีย์นั้น ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552 เป็นต้นมา สินค้าที่ระบุว่าเป็นสินค้าเกษตรอินทรีย์ จะต้องผ่านการรับรองตราสินค้าอินทรีย์ของประเทศต้นทางโดยสภาเกษตรไต้หวัน ก่อนจึงจะสามารถใช้ตราสินค้าอินทรีย์ได้ ซึ่งขณะนี้สภาเกษตรยังอยู่ระหว่างการตรวจรับรองตราสินค้าอินทรีย์ของประเทศ ต่าง ๆ

ปัจจุบัน ไต้หวันยังคงห้ามการนำเข้าสินค้าส่วนใหญ่จากจีน ทำให้ผู้ส่งออกไทยสามารถทำตลาดไต้หวันได้ง่ายกว่าประเทศอื่น แต่ผู้ส่งออกไทยก็ควรมุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนโดยให้ความสำคัญกับการผลิต สินค้าเกรดดีมีคุณภาพสูงมากกว่าการผลิตสินค้าคุณภาพต่ำราคาถูกในปริมาณมาก เพราะสามารถขายได้ราคาดีกว่า นอกจากนี้ แนวคิดเกี่ยวกับการรับประทานเพื่อสุขภาพและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมกำลังได้ รับความสนใจมากขึ้นเรื่อย ๆ ผู้ประกอบการจึงควรให้ความสำคัญกับกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco Friendly) หรือการทำเกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้น เพราะสามารถใช้เป็นจุดขายได้ดี

ผู้ประกอบการไทยที่ต้องการส่ง ออกผักสดไปยังไต้หวัน สามารถขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทย โทรศัพท์ (88-62) 2581-1979 อี-เมล์ tteo@ms22.hinet.net หรือเว็บไซต์ www.tteo.org.tw/th/index.asp

 

ข้อมูลจาก Happytreebiz

0 comments:

Post a Comment

เชิญร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

Related Posts with Thumbnails

H C Supply Co.,Ltd.. Get yours at bighugelabs.com

H C Supply Co.,Ltd.
162 Moo12 Weingkalong Sub-District, Weingpapao District, Chiangrai 57260 THAILAND
Tel. +66 (0)53 952 418 Fax. +66 (0)53 952 136
E-mail : hsuchuanfoods@hotmail.com
 

H C Supply Co.,Ltd. © 2008 Business Ads Ready is Designed by Ipiet Supported by Tadpole's Notez