27 September 2008

การปรับปรุงคุณภาพดินสู่ระบบเกษตรอินทรีย์ (2)

0 comments

การเตรียมพื้นที่สำหรับทำแปลงเกษตรอินทรีย์เมื่อพิจารณาคำพูดของคนสมัยโบราณซึ่งมักจะกล่าวเอาไว้เสมอว่า “จะปลูกพืชต้องเตรียมดิน” ชี้ให้เห็นว่าดินเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญของการเกษตร จึงต้องมีการวางแผน ปรับปรุงดินให้มีคุณสมบัติเหมาะสมกับพืชที่จะปลูก

หลักการผลิตพืชอินทรีย์มาตรฐานของประเทศไทย

กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศใช้ข้อกำหนดที่เป็นแนวทางการผลิตพืชอินทรีย์ตามมาตรฐานการผลิตพืชอินทรีย์ไว้สำหรับเกษตรกรหรือองค์กรที่ประสงค์จะผลิตพืชอินทรีย์ให้ได้การรับรอง โดยมีสาระสำคัญดังนี้

1. การคัดเลือกพื้นที่ตั้งฟาร์มเกษตรอินทรีย์

การเลือกตำแหน่งที่ตั้งของพื้นที่สำหรับจัดทำเป็นแปลงเกษตรอินทรีย์เพื่อจะขอการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์มีข้อปฏิบัติดังนี้

(1)กรณีเป็นผู้ที่บุกเบิกใหม่ไม่เคยทำการเกษตรมาก่อนในระยะเวลาย้อนหลัง 5 ปี สามารถใช้เป็นพื้นที่ผลิตพืชอินทรีย์ได้ทันที สำหรับพื้นที่ปลูกไม้ผลยืนต้นต้องไม่ใช้สารเคมีการเกษตรต่อเนื่องกันอย่างน้อย 3 ปี และพื้นที่ปลูกพืชล้มลุกต้องไม่ใช้สารเคมีการเกษตรอย่างน้อย 1 ปี
(2)พื้นที่ตั้งต้องอยู่ห่างจากถนนสายหลักและห่างจากพื้นที่การเกษตรที่ใช้สารเคมี ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันและลดโอกาสการปนเปื้อนสารเคมีจากทางอากาศ ทางดิน และทางน้ำ
(3)คุณภาพดินต้องเหมาะสมสำหรับการปลูกพืช และมีแหล่งน้ำสะอาดที่เพียงพอ โดยปราศจากการปนเปื้อนสารเคมีในกิจกรรมการเกษตร

2. แหล่งน้ำที่ใช้ในฟาร์มเกษตรอินทรีย์

(1)เป็นแหล่งน้ำที่สะอาด ไม่มีการปนเปื้อนของสารเคมีที่เป็นพิษต่อมนุษย์และสัตว์
(2)ควรเป็นแหล่งน้ำจากบ่อบาดาล หรือแหล่งน้ำที่กักเก็บจากน้ำฝนธรรมชาติ มีพื้นรองรับน้ำสะอาด ปราศจากกิจกรรมใดๆ ที่ใช้สารเคมีในพื้นที่รับน้ำอยู่ห่างจากโรงงานอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดมลภาวะอันเป็นพิษปนเปื้อนในแหล่งน้ำ
(3)ในกรณีใช้น้ำจากแม่น้ำ น้ำจากคลองชลประทาน ต้องเก็บตัวอย่างน้ำไปตรวจวิเคราะห์หาสารพิษปนเปื้อนก่อนที่จะนำไปใช้ในการผลิตพืชอินทรีย์

3. การบริหารจัดการฟาร์มเกษตรอินทรีย์

(1)มีวิธีการป้องกันการปนเปื้อนสารเคมีที่เป็นพิษทั้งทางดิน น้ำและอากาศ
(2)มีวิธีการจัดการและกำจัดของเสียภายในฟาร์ม
(3)มีวิธีป้องกันการปนเปื้อนของสารเคมีในกระบวนการผลิต การเก็บรักษาและการขนส่งไปสู่ตลาด
(4)ต้องมีการวางแผนการผลิตพืชตั้งแต่การเพาะปลูกจนถึงการเก็บเกี่ยว การกำหนดพื้นที่เพาะปลูกและชนิดพืชที่ปลูกควรมีความต้านทานต่อการทำลายของแมลงศัตรูพืช
(5)การใช้ปัจจัยการผลิต ไม่ใช้สารเคมีเกษตรทุกชนิดที่ได้จากการสังเคราะห์โดยมนุษย์ในทุกขั้นตอนของการผลิต เก็บเกี่ยว เก็บรักษา และการขนส่ง
(6)ต้องมีการป้องกันไม่ให้เครื่องจักร เครื่องมือการเกษตรปนเปื้อนสารเคมีเกษตร
(7)มีการบันทึกกิจกรรมการเกษตรในฟาร์มทุกกิจกรรม เช่น แหล่งที่มาของเมล็ด พันธุ์พืช ปัจจัยการผลิต การบำรุงรักษา ป้องกัน กำจัดแมลงศัตรูพืช ฯลฯ เพื่อให้สามารถตรวจสอบข้อมูลกิจกรรมการเกษตรย้อนหลังได้อย่างถูกต้อง

Read full story

26 September 2008

การปรับปรุงคุณภาพดินสู่ระบบเกษตรอินทรีย์ (1)

0 comments

ปัจจุบันกระแสการดูแลรักษาสุขภาพของประชากรโลกเริ่มมีมากขึ้น ทำให้ผู้บริโภคหันมาใส่ใจในการเลือกซื้ออาหารที่ปลอดภัยและปราศจากสารเคมีต่างๆ ที่ตกค้างอยู่ในผลิตผลการเกษตรซึ่งสารเคมีตกค้างล้วนแล้วแต่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ด้วยเหตุนี้การเกษตรของประเทศหลายประเทศได้ปรับเปลี่ยนมาสู่การคิดหาวิธีการทำเกษตรกรรมที่ไม่ใช้สารเคมีสังเคราะห์ เรียกว่า เกษตรอินทรีย์ (Organic Agriculture) เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิตและได้ผลผลิตที่เป็นที่ต้องการของตลาด โดยการพยายามประยุกต์ใช้ธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด ลดการใช้ปัจจัยการผลิตภายนอกและหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ ซึ่งวิธีการทำเกษตรแนวนี้จะไม่เป็นอันตรายต่อทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค

เกษตรอินทรีย์คือ

ระบบการผลิตที่คำนึงถึงสภาพแวดล้อมรักษาสมดุลของธรรมชาติและความหลากหลายของทางชีวภาพโดยมีระบบการจัดการนิเวศวิทยาที่คล้ายคลึงกับธรรมชาติและหลีกเลี่ยงการใช้สารสังเคราะห์ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยเคมี สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและฮอร์โมนต่าง ๆ ตลอดจนไม่ใช้พืชหรือสัตว์ที่เกิดจากการตัดต่อทางพันธุกรรมที่อาจเกิดมลพิษในสภาพแวดล้อมเน้นการใช้อินทรียวัตถุ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด และ ปุ๋ยชีวภาพในการปรับปรุงบำรุงให้มีความอุดมสมบูรณ์ เพื่อให้ต้นพืชมีความแข็งแรงสามารถต้านทานโรคและแมลงด้วยตนเอง รวมถึงการนำเอาภูมิปัญญาชาวบ้านมาใช้ประโยชน์ด้วย ผลผลิตที่ได้จะปลอดภัยจากสารพิษตกค้างทำให้ปลอดภัยทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคและไม่ทำให้สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมอีกด้วย

หลักการเกษตรอินทรีย์เป็นหลักการสากลที่สอดคล้องกับเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ สังคม ภูมิอากาศและวัฒนธรรมของท้องถิ่น เนื่องจากก่อให้เกิดผลผลิตที่ปลอดภัยจากสารพิษ และช่วยฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดิน มีหลักการของการอยู่ร่วมกันและพึ่งพิงธรรมชาติทั้งบนดินและใต้ดิน ใช้ปัจจัยการผลิตอย่างเห็นคุณค่า และมีการอนุรักษ์ให้อยู่อย่างยั่งยืน นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาแบบเป็นองค์รวมและความสมดุลที่เกิดจากความหลากหลายทางชีวภาพในระบบนิเวศทั้งระบบ

 

หลักการและความมุ่งหมายของเกษตรอินทรีย์

(1) พัฒนาระบบการผลิตไปสู่แนวทางเกษตรผสมผสานที่มีความหลากหลายของพืชและสัตว์

(2) พัฒนาระบบการผลิตที่พึ่งพาตนเองในเรื่องของอินทรียวัตถุและธาตุอาหารภายในฟาร์ม

(3) ฟื้นฟูและรักษาความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ โดยใช้ทรัพยากรหมุนเวียนให้เกิดประโยชน์สูงสุด

(4) รักษาความสมดุลของระบบนิเวศในฟาร์มและความยั่งยืนของระบบนิเวศโดยรวม

(5) ป้องกันและหลีกเลี่ยงการปฏิบัติที่ทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม

(6) สนับสนุนระบบการผลิตและกระบวนการจัดการทุกขั้นตอนที่คำนึงถึงหลักมนุษยธรรม

(7) ยึดหลักการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว และการแปรรูปที่เป็นวิธีการธรรมชาติ ประหยัดพลังงาน และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด

หลักวิธีการทางเกษตรอินทรีย์

ไม่ใช้สารเคมีทางการเกษตร

ใช้จุลินทรีย์ในการผลิต      

ใช้ปุ๋ยหมัก (ปุ๋ยอินทรีย์)

ไถพรวนด้วยเครื่องจักร

การควบคุมศัตรูพืชด้วยชีววิธี/สารอินทรีย์กำจัดศัตรูพืช

การควบคุมวัชพืชโดยการไถกลบ และปลูกพืชหมุนเวียน

Read full story

25 September 2008

Available product in September 2008 (2)

1 comments

แตงกวา

แตงกวามีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย มีการบันทึกประวัติการปลูกมากกว่า 3,000 ปี และมีการปลูกในประเทศแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเมื่อก่อน 2,000 ปี โดยนำผ่านเอเชียกลางและตอนเหนือของทวีปแอฟริกา ในศตวรรษที่ 6 ได้นำไปปลูกในประเทศจีน สันนิษฐานว่าได้นำเข้าประเทศจีน 2 ทาง คือ เส้นทางสายไหม โดยผ่านประเทศในเอเซียตะวันออกไปภาคเหนือของประเทศจีน ส่วนอีกเส้นทางโดยผ่านประเทศในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ พม่า ไทย ลาว ไปสู่ทางภาคใต้ของประเทศจีน ในศตวรรษที่ 9-14 ได้นำไปปลูกในทวีปยุโรป และได้รับการพัฒนาพันธุ์ต้นศตวรรษที่ 19 ได้รับการพัฒนาพันธุ์ให้เหมาะสมต่อการปลูกได้ในโรงเรือน ศตวรรษที่ 15-16 ได้นำไปปลูกในทวีปอเมริกากลางและอเมริกาเหนือ และได้รับการพัฒนาพันธุ์อย่างมากในประเทศสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 19 ปัจจุบันแตงกวาเป็นผักที่นิยมบริโภคทั่วโลก ทั้งในสภาพการบริโภคสดและแปรรูป

การจำแนกแตงกวา

1. พันธุ์สำหรับรับประทานสด เป็นพันธุ์ที่มีเนื้อบางและไส้ใหญ่ สีเปลือกเป็นสีเขียวอ่อน ผลมีน้ำมากเป็นพันธุ์ที่มีทั้งผลเล็กและผลใหญ่ เมื่อผลยังอ่อนอยู่จะมีหนามเต็มไปหมด แต่เมื่อโตเต็มที่หนามจะหลุดออกเอง พันธุ์รับประทานสดนี้ไม่เหมาะกับการนำไปดอง
แตงกวารับประทานสดแบ่งตามขนาดของผลนั้น แบ่งได้เป็น
1.1 แตงผลยาว (long cucumber) ที่รู้จักกันในชื่อของแตงร้าน มีความยาวผลอย่างน้อย 15 ซม. และมีความกว้างผลมากกว่า 2.5 ซม. ส่วนใหญ่จะมีเนื้อหนาไส้แคบ กรณีที่เป็นพันธุ์ของไทยนั้น จะมีสีผลสีเขียวแก่ตรงส่วนใกล้ขั้วผลประมาณ 1/3  ของผลที่เหลือมีจุดประสีเขียวอ่อนหรือขาว และเส้นสีขาวเป็นแถบเล็ก ๆ ตลอดความยาวไปถึงปลายผล ส่วนพันธุ์ของต่างประเทศนั้น จะมีสีเขียวเข้มสม่ำเสมอทั้งผล
1.2 แตงผลสั้น (short cucumber) ที่รู้จักกันในชื่อของแตงกวา มีความยาวผล 8-12 ซม. และมีความกว้างผลมากกว่า 2.5 ซม. ส่วนใหญ่จะมีเนื้อน้อยไส้กว้าง

          2. พันธุ์อุตสาหกรรม เป็นพันธุ์ที่มีเนื้อหนา ไส้เล็ก บางพันธุ์ก็ไม่มีไส้เลย เปลือกสีเขียวเข้ม เมื่อนำไปดองจะคงรูปร่างได้ดี ไม่ค่อยเหี่ยวย่น แตงกวาพันธุ์นี้มักจะเป็นลูกผสม ผลมักมีรูปร่างผอมยาว ซึ่งแบ่งตามขนาดได้ดังนี้

2.1 แตงผลยาว (long cucumber) เป็นแตงชนิดที่ใช้ทำแตงดองของญี่ปุ่นและจีนซึ่งจะต้องมีความยาวผล 20-30 ซม. และมีความกว้างผล 2-3 ซม. มีเนื้อหนาไส้แคบผิวสีเขียวเข้มตลอดความยาวของผล มักใช้ดองโดยมีการใช้น้ำปรุงรสด้วยส่วนผสมของซีอิ้ว
2.2 แตงผลสั้น (short cucumber) เป็นแตงชนิดที่ใช้ทำแตงดองของสหรัฐอเมริกาและยุโรป ซึ่งมีความยาว 8-12 ซม. และมีความกว้างผล 1.0-5.1 ซม. โดยทั่วไปจะมีอัตราส่วนความยาวต่อความกว้าง (L/D ratio) มีค่าอยู่ระหว่าง 2.8-3.1 มีเนื้อหนาและแน่น ไส้แคบ ผิวสีเขียวเข้มตลอดความยาวของผล มักใช้ดองทั้งผล ผ่าตามความยาวและหั่นเป็นชิ้น ๆ ตามความกว้างของผล
สำหรับแตงกวาของบริษัท เอช ซี ซัพพลาย จำกัด เป็นแตงกวาพันธุ์ Anaxo ใช้สำหรับทำแตงกวาดอง
 

คุณค่าทางโภชนาการ

ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต เส้นใย โปรตีน แคลเซียมฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 ไนอาซิน วิตามินซี และมีเอนไซม์ชื่อ อีเร็ปซิน (erepsin) มีกรดอะมิโนหลายชนิดและมีสารสำคัญ เช่น คิวเคอร์บิทาซินซี (Cucurbitacin C.) มีปริมาณสารซิลิคอนและฟลูออไรด์สูง มีสารสเตอรอล (sterol) ซึ่งมีมากที่ผิวเปลือกของแตงกวา
แตงกวามีพลังงานและสารอาหารน้อยมาก ไม่มีไขมัน และไม่มีคอเลสเตอรอล จึงเหมาะสำหรับคนลดน้ำหนัก


ประโยชน์ที่มากกว่าอาหาร

ผลและเมล็ดอ่อน
วิตามินบี 1 ช่วยเสริมการทำงานของระบบประสาท ช่วยความจำ ลดอาการนอนไม่หลับ แก้กระหายน้ำ
สารคิวเคอบิทาซินซี (Cucurbitacin C.) ซึ่งมีฤทธิ์ต้านมะเร็ง ช่วยขับปัสสาวะ แก้อาการขัดเบา
เอนไซม์อีเร็ปซิน (erepsin) ทำให้ผิวขาวใสนุ่มนวล ลดการเหี่ยวย่น เพราะเอนไซม์ดังกล่าวจะช่วยย่อยผิวหนังที่หยาบกร้านให้หลุดออกไป ทำให้ผิวนุ่ม
กรดอะมิโน วิตามิน และเกลือแร่ มีสรรพคุณในการรักษาความชุ่มชื้นไว้ใต้ผิวหนัง คืนความชุ่มชื้นตามธรรมชาติ (natural moisturizing) ให้กับผิวหน้า แต่ไม่ทำให้หน้ามัน ทั้งยังมีฤทธิ์กระชับรูขุมขนทำให้ผิวนวนเนียน ลดการเกิดสิว ทั้งยังมีฤทธิ์ฆ่าเชื้ออ่อนๆ แตงกวาจึงเหมาะจะเป็นเครื่องสำอาง พอกหน้าของคนเป็นสิว
นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณช่วยบำรุงผมและเล็บ ในตำรายาแผนไทยใช้บรรเทาอาการไอ ฟอกเลือด ลดความร้อนออกจากร่างกาย มีคำแนะนำให้ผู้ป่วยโรคเกาต์ และบวมน้ำดื่มน้ำคั้นจากแตงกวาเป็นประจำ
สารสเตอรอล (sterol) ช่วยลดคอเลสเตอรอลในหลอดเลือด ป้องกันการเกิดโรคหัวใจ
ใบและเมล็ดแก่
สามารถใช้เป็นยาขับพยาธิ
รากแตงกวา
ช่วยขับปัสสาวะ แก้อาการขัดเบา มีโดยให้ใช้รากสด 1 กำมือ นำมาล้างให้สะอาด นำไปต้มกับน้ำ โดยให้ใส่น้ำแต่พอท่วม จากนั้นรินเอาแต่น้ำที่ได้มาดื่ม วันละ 3-4 ครั้งๆละ 1 แก้ว

อ้างอิง : บทความวิทยุรายการสาระความรู้ทางการเกษตร, การปลูกแตงกวา

Read full story

20 September 2008

ปัจจัยที่มีผลต่อผู้บริโภคต่อการเลือกซื้อผักและผลไม้

0 comments

vegetable

ผักและผลไม้เป็นอาหารสุขภาพและยาที่กำลังเป็นที่สนใจมากขึ้น โดยเฉพาะการเป็นอาหารต้านมะเร็ง หรือที่รู้จักกันดีว่าเป็น antioxidant หรือสารต้านอนุมูลอิสระ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ได้ให้ข้อมูลว่า การปฏิบัติตนให้มีพฤติกรรมและการบริโภคที่เหมาะสม จะสามารถป้องกันมะเร็งได้ 30-40% ของโรคมะเร็งทั้งหมด และยังป้องกันโรคหัวใจ เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ได้อีกด้วย การบริโภคที่เหมาะสมคือ
(1) เลือกทานอาหารที่ประกอบด้วยธัญพืช เช่น ถั่ว งา ข้าวโพด ข้าวกล้อง มันฝรั่ง มันเทศ ทานผักและผลไม้ให้มากเป็นประจำให้ได้อย่างน้อยวันละ 500 กรัม หรือมากกว่าครึ่งของปริมาณอาหารที่ทาน จะลดความเสี่ยงของมะเร็งได้ 20% หรือมากกว่า
(2) ทานอาหารที่มีไขมันต่ำ โดยไม่ควรเกิน 25-30% ของปริมาณพลังงานทั้งหมดต่อวัน (ผู้ชายควรได้รับพลังงานวันละ 2,000 แคลอรี ผู้หญิงวันละ 1,500 แคลอรี)
(3) งดอาหารเค็มจัดและหวานจัด โดยเกลือต้องไม่เกิน 1 ช้อนชา และน้ำตาลไม่เกิน 3 ช้อนโต๊ะ ในอาหารทั้งหมดแต่ละวัน

จากผลสำรวจข้อมูลของประเทศสหรัฐอเมริกา ปี 2551 จากการประชุมเครือข่ายไม้ผลเมืองร้อน ได้ข้อมูลแนวโน้มของสิ่งที่ผู้บริโภคคำนึงถึงในการเลือกซื้อผักและผลไม้ ดังนี้

อันดับที่  1    ราคา (Value, cost)
อันดับที่  2    คุณภาพ (Product quality)
อันดับที่  3    ความปลอดภัย (Food safety)
อันดับที่  4    รสชาติ (Taste, Flavour)
อันดับที่  5    ความสดใหม่ (Freshness)
อันดับที่  6    วัสดุบรรจุภัณฑ์ (Packaing)
อันดับที่  7    ยี่ห้อ (Brand)
อันดับที่  8    คุณค่าทางโภชนาการ (Health, Nutrtion)
อันดับที่  9    ความสะอาด ปราศจากสารเคมีตกค้าง (Clean, chemical free)

ผู้บริโภคจะไม่ได้พิจารณาเฉพาะตัวสินค้าเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงกระบวนการผลิตที่ไม่ให้กระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากนัก เป้าหมายหลักของการบริโภคผักและผลไม้ ก็คือ เป็นอาหารเพื่อสุขภาพ มีประโยชน์แก่ร่างกาย ย่อยง่าย และมีคุณค่าทางยาทั้งเพื่อสุขภาพและความงาม รวมทั้งผักและผลไม้ที่ผลิตแบบอินทรีย์หรือแบบธรรมชาติจะมีบทบาทมากขึ้น (อ้างอิง: IGD, Shopper Trends in Products and Store Choice, 2007)

carbon footprint cycle

ประเด็นที่ผู้ผลิตควรพิจารณาก็คือ ต้องใส่ใจสิ่งแวดล้อม โดยให้มีการสูญเสียในการจัดการน้อยที่สุด เนื่องจากมีการพิจารณาถึงปริมาณการปลอดปล่อยก๊าซคาร์บอนที่มำให้เกิดภาวะเรือนกระจกทั้งทางตรงและทางอ้อมจากกระบวนการผลิตตั้งแต่ต้นทางจนถึงผู้บริโภค ด้วยการพิจารณาค่า carbon footprint ผู้บริโภคจะเลือกซื้อผักและผลไม้ที่ผลิตในประเทศหรือท้องถิ่นที่ไม่ห่างไกลมากกว่าเลือกซื้อสินค้าที่ผลิตจากต่างประเทศที่ต้องขนส่งมาเป็นระยะทางไกลๆ มีการพิจารณาเลือกซื้อสินค้าที่วางจำหน่ายโดยไม่ใช้บรรจุภัณฑ์ สรุปคือ สินค้าที่ผู้บริโภคต้องการมากจะเป็นผักและผลไม้ที่ผลิตตามแบบธรรมชาติ (nuturally healthy)  และกลุ่มที่ผลิตในท้องถิ่น (locavore) ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อของผู้บริโภคที่จะมีบทบาทมากขึ้นในอนาคต

อ้างอิง : เคหะการเกษตร ฉ.9 กันยายน 2551

Download :
อาหารและผลไม้ป้องกันมะเร็ง โดย สถาบันมะเร็งแห่งชาติ

Read full story

19 September 2008

Soiless Culture : ปลูกผักไร้ดิน

0 comments

จากพื้นที่โรงเรือนเพาะกล้าที่เหลือจากการใช้ประโยชน์ บริษัทฯจึงมีแนวคิดที่จะปรับปรุงพื้นที่ส่วนนี้เพื่อใช้ในการทดลองปลูกพืชผักไร้ดิน (Soiless culture) ซึ่งจะช่วยขจัดปัญหาของโรคพืชที่เกิดจากดิน สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการแปลงปลูกด้วยการให้น้ำและปุ๋ยทางระบบน้ำหยด และยังสามารถทำการผลิตผักนอกฤดูกาล จำหน่ายได้ในราคาที่สูงอีกด้วย
โดยพืชผักที่จะทำการปลูกในเบื้องต้นได้แก่ ผักสลัดชนิดต่างๆ จำนวน 900 ต้น วัสดุปลูกเป็นขุยมะพร้าว และใช้ท่อ PVC 3 นิ้วผ่าครึ่งเป็นภาชนะปลูก  ติดตั้งระบบน้ำหยดในการให้น้ำและสารละลายปุ๋ย


การปลูกพืชไร้ดิน

การปลูกพืชไร้ดิน แบ่งเป็น 3 วิธีใหญ่ๆ คือ
1. Soiless Culture หรือ Substrate Culture
2. Hydroponics คือ การปลูกพืชโดยให้รากพืชแช่อยู่ในน้ำสารละลายธาตุอาหารโดยตรง
3. Aeroponics คือ การปลูกพืชโดยการฉีดพ่นน้ำสารละลายธาตอาหารให้กับรากพืชที่ลอยอยู่ในอากาศ

Soiless culture หรือ Substrate culture จะทำการปลูกพืชลงในวัสดุปลูกอื่นที่ไม่ใช่ดิน แบ่งเป็น 3 ชนิด คือ
(1) วัสดุอินทรีย์สาร เช่น ชานอ้อย ขี้เลื่อย ขุยมะพร้าว แกลบ ขี้เถ้า เป็นต้น
(2) วัสดุอนินทรีย์สาร เช่น ทราย หิน กรวด เม็ดดินเผา เพอไลท์(Perlite)เป็นต้น
(3) วัสดุสังเคราะห์ เช่น เม็ดโฟม  แผ่นฟองน้ำ เส้นใยพลาสติก เป็นต้น

อ้างอิง : www.hydrowork.net

Read full story

17 September 2008

การเพาะเลี้ยงเชื้อราปฏิปักษ์

0 comments

เชื้อราปฏิปักษ์ หมายถึงเชื้อราที่มีความสามารถในการต่อสู้กับศัตรูพืชได้ ซึ่งมีหลายประเภท คือ เชื้อราที่ต่อสู้กับแมลง โดยสามารถเข้าทำลายแมลง หรือเชื้อราที่เข้าทำลายเชื้อราก่อโรคในพืชหลายชนิด เช่น เชื้อราโรคเหี่ยว เป็นต้น

โรครากและโคนเน่า ซึ่งเกิดจากเชื้อราเป็นโรคที่พบได้บ่อยในการปลูกมะเขือม่วง การนำเชื้อราปฏิปักษ์มาใช้จะช่วยควบคุมโรคดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความปลอดภัยสูงต่อผลผลิตและเกษตรกร เชื้อราปฏิปักษ์ที่รู้จักกันดีคือ เชื้อราไตรโคเดอร์มา (Trichoderma spp.) ซึ่งเกษตรกรสามารถทำการเพาะเลี้ยงได้เอง

 

วิธีการเพาะเลี้ยงเชื้อราไตรโคเดอร์มา

วัสดุและอุปกรณ์

1. หัวเชื้อไตรโคเดอร์มาผง
2. ปลายข้าวสารประมาณ 6-10 กิโลกรัม
3. หม้อหุงข้าวไฟฟ้า
4. ถุงพลาสติกใสชนิดทนร้อนขนาด 8 x 12 นิ้ว
5. ยางรัดปากถุง
6. สำลีและแอลกอฮอล์

วิธีการ

1. หุงปลายข้าวสารด้วยหม้อหุงข้าวไฟฟ้าให้สุกประมาณ 90% อย่าให้สุกมากเกินไปเพราะจะทำให้ข้าวแฉะ แล้วตักใส่ถุงพลาสติกประมาณ 200 กรัม

 

 

 

 

2. ใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์เช็ดช้อนตัก พื้นโต๊ะบริเวณที่จะทำการถ่ายเชื้อให้สะอาด และใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์เช้ดมือผู้ท่จะทำการถ่ายเชื้อด้วย เพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่อยู่โดยรอบไม่ให้ปนเปื้อน
3. ตักหัวเชื้อไตรโคเดอร์มาผง ประมาณ ครึ่งช้อนโต๊ะ ใส่ในถุงพลาสติกที่บรรจุข้าวไว้แล้ว และรัดปากถุงให้แน่น ขยำข้าวกับเชื้อเข้าด้วยกันเบาๆ อย่าให้เม็ดข้าวถูกบี้จนเละ เพราะต้องให้มีอากาศถ่ายเทได้สะดวกเพื่อการเดินของเส้นใยเชื้อราจะง่ายขึ้น (ขั้นตอนการถ่ายหัวเชื้อนี้ต้องเลือกสถานที่ที่สะอาดและต้องระมัดระวังการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์จากสิ่งแวดล้อม)

4. ใช้ปลายเข็มแทงถุงพลาสติกประมาณ 20 – 30 รู เพื่อให้มีอากาศถ่ายเทได้ทั่วถุงแล้วแผ่ถุงข้าวให้แบนราบ

 

 

 

 

 

5. บ่มเชื้อไว้ในที่มีอากาศถ่ายเท มีแสงสว่างส่องถึงและปลอดภัยจากแมลงและมด เมื่อครบเวลา 2 วันจะเห็นเส้นใยของเชื้อราเริ่มเจริญ ให้ทำการขยำถุงข้าวเพื่อให้เชื้อกระจายตัวทั่วทั้งถุงแล้วบ่มต่ออีก 4-5 วัน จึงนำไปใช้

clip_image002[33]

 

เชื้อสด 7 วัน พร้อมนำไปใช้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

6. วิธีการนำไปใช้
(1)   ผสมน้ำ กรองเศษข้าวออก เติมกากน้ำตาลเล็กน้อย นำไปฉีดพ่นได้ทันที ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
(2) ให้นำเชื้อสดผสมรำข้าว (รำละเอียด) และปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยคอกเก่า อัตราส่วน 1:4:100 โดยน้ำหนัก คลุกผสมให้เข้ากัน แล้วโรยบนแปลงที่เตรียมไว้แล้วอัตรา 100 กรัม (ประมาณ 2 กำมือ) ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตรสำหรับลดเชื้อก่อโรคในดิน ก่อนการปลูกพืชประมาณ 1 สัปดาห์


(3) นำไปผสมดินปลูกด้วยอัตราส่วน 1:4 แล้วใส่ในกระบะเพาะเมล็ด หรือกระบะเพาะต้นพันธุ์พืช


(4)  ใช้รองก้นหลุมปลูกให้ใช้ประมาณ 2 ช้อนแกงต่อหลุม
(5)  หว่านแปลงปลูกพืช อัตรา 100 กรัมต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร

 

ต้นทุนการขยายเชื้อไตรโครเดอร์ม่า

หัวเชื้อไตรโครเดอร์ม่า      0.28 บาท/กรัม
ปลายข้าว                     9.00 บาท/ลิตร ( แบ่งได้ 7 ถุง )
ข้าว                            1.28 บาท/ถุง
ถุงพลาสติก+ยางรัด         0.25 บาท

ราคาไตรโครเดอร์ม่าพร้อมใช้ ราคา 1.81 บาท/ถุง

**ต้องการคำแนะนำในการเพาะเลี้ยงเชื้อราไตรโคเดอร์มา หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ บริษัท เอช ซี ซัพพลาย จำกัด โทร. 053-952256-7

Read full story

15 September 2008

เพิ่มภูมิต้านทานให้มะเขือม่วงด้วยการเสียบยอด

0 comments

โรคเหี่ยวแบคทีเรียในมะเขือม่วง

โรคเหี่ยวเขียวหรือโรคเหี่ยวจากเชื้อแบคทีเรีย เชื้อแบคทีเรียสาเหตุของโรคคือ Ralstonia solanacearum อาศัยอยู่ในดินและเข้าทำลายพืชทางรากหรือลำต้น สามารถแพร่ระบาดไปกับน้ำ วัสดุทางการเกษตรที่ใช้ อาการเหี่ยวจะเริ่มที่ใบบางส่วนและเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ต้นตายได้ ถ้านำลำต้นมาตัดขวางจะพบว่าไส้กลางตัน มีอาการช้ำน้ำและสีเข้มกว่าต้นที่ไม่เป็นโรค  เมื่อพบต้นที่เป็นโรคเหี่ยวจะต้องทำการถอนและเผาทำลาย เพื่อป้องกันการระบาดของโรค

มะเขือม่วงเป็นพืชในตระกูล Solanaceae ซึ่งติดโรคเหี่ยวได้ดีที่สุดในทุกระยะของการเจริญเติบโต หากมีการติดโรคจะไม่สามารถเก็บผลผลิตได้ตลอดระยะของการเก็บเกี่ยว ทำให้สูญเสียรายได้ไปเป็นจำนวนมาก

ปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีการเสียบยอดมาช่วยป้องกันโรคดังกล่าว โดยใช้มะเขือพวงพันธุ์พื้นเมืองมาเป็นต้นตอ ทำให้ได้ต้นกล้ามะเขือม่วงที่มีความต้านทานโรค หาอาหารเก่ง และเจริญเติบโตเร็ว นอกจากมะเขือม่วงแล้ว มะเขือพันธุ์อื่นๆก็สามารถใช้วิธีการเสียบยอดได้เช่นกัน

ต้นกล้ามะเขือม่วงเสียบยอด

เทคนิคการผลิตต้นกล้ามะเขือม่วงเสียบยอด

1. เลือกต้นกล้าที่จะใช้เสียบยอด ต้นกล้ามะเขือม่วงอายุประมาณ 1 เดือน และต้นกล้ามะเขือพวงอายุประมาณ 2 เดือน
2. ตัดยอดต้นกล้ามะเขือพวงเฉียงทำมุม 45 องศา สูงจากโคนต้นประมาณ 2 นิ้ว
3. ตัดยอดต้นกล้ามะเขือม่วงเฉียงทำมุม 45 องศา ให้มีความยาวจากปลายยอดถึงรอยตัดประมาณ 1.5 นิ้ว
4. เสียบสายยางเสียบยอดลงบนรอยตัดของต้นกล้ามะเขือพวง และนำยอดต้นกล้ามะเขือม่วงมาเสียบลงไป โดยให้รอยตัดแนบกันพอดี
5. นำเข้าโรงอบต้นกล้าประมาณ 10 วัน  จึงเอาออกมาคัดต้นกล้าที่เสียบติด  ทำการรดน้ำให้ปุ๋ยและพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตามปกติจนกว่าจะนำไปปลูก

ในช่วงฤดูหนาว (มกราคม-กุมภาพันธ์) มะเขือจะเจริญเติบโตช้า เนื่องจากอุณหภูมิค่อนข้างต่ำ จึงควรเพิ่มเวลาในการเพาะเมล็ด และเพิ่มแสงให้กับต้นกล้าในเวลากลางคืนโดยใช้ไฟเดย์ไลท์ (Day Light) ส่วนในฤดูร้อนควรเพิ่มการรดน้ำเช้า-เย็น หรือให้น้ำโดยใช้ระบบพ่นน้ำแบบสเปรย์ เพื่อป้องกันไม่ให้วัสดุเพาะกล้า (media) แห้ง 


**ต้องการขอคำแนะนำในการผลิตต้นกล้ามะเขือม่วงเสียบยอด เข้าชมวิธีการผลิต  หรือสั่งซื้อต้นกล้า กรุณาติดต่อที่ บริษัท เอช ซี ซัพพลาย จำกัด โทร. 053-952256-7

Read full story

13 September 2008

การปลูกมะเขือม่วงญี่ปุ่น

1 comments

มะเขือ (Eggplant / Aubergine)

มะเขือที่นิยมปลูกและที่ซื้อขายกันทั่วโลกเป็นสายพันธุ์ Solanum melongena ในสายพันธุ์เดียวกันนี้ยังมีพันธุ์ย่อยๆ  มะเขือต่างพันธุ์จึงมีรูปร่าง ขนาด และสีสันแตกต่างกันไปมาก รูปทรงมีทั้งยาว รีแบบไข่ กลม กลมแป้น และแบบหลอดไฟ  สีก็มีทั้งเขียว ขาว ม่วง เหลือง  ขนาดมีทั้งเล็กเท่าไข่นกกระทา จนถึงที่ใหญ่กว่าหลอดไฟฟ้าตามบ้าน  อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันอิทธิพลลัทธิการค้าทำให้ความหลากหลายของมะเขือลดลงเหลือเพียงไม่กี่พันธุ์ที่ต่างประเทศคุ้นเคยกัน  ได้แก่ มะเขือม่วงพันธุ์โตในตะวันตก และมะเขือม่วงยาวในจีนและญี่ปุ่น ซึ่งบางทีเรียกมะเขือญี่ปุ่น หรือมะเขือจีน
ปัจจุบันนี้มีแต่เมืองไทยเท่านั้น ที่ยังคงความหลากหลายของพันธุ์มะเขือไว้ได้จนมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของต่างประเทศ เฉพาะในสายพันธุ์ Solanum Melongena เราก็ยังมีมะเขือหลากหลายชนิดให้กิน เช่น มะเขือเปาะ มะเขือยาว มะเขือม่วง มะเขือจาน มะเขือขื่น มะเขือไข่ เป็นต้น 

 

มะเขือ..สุดยอดอาหารสมอง

เปลือกของมะเขือม่วงอุดมไปด้วยนาซูนิน (nasunin) ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยปกป้องสมองจากการถูกทำลาย จึงควรรับประทานทั้งเปลือกเพื่อให้ได้รับคุณประโยชน์อย่างเต็มที่ นอกจากสารมหัศจรรย์ดังกล่าวแล้ว ยังอุดมไปด้วยวิตามินบี 1 วิตามินบี 2 และวิตามินซี มีธาตุเหล็กและแคลเซียมบ้าง ยิ่งไปกว่านั้นมะเขือยังช่วยลดโคเลสเตอรอลในเลือดได้ด้วย จึงน่าทึ่งในภูมิปัญญาของคนไทยที่นิยมใส่มะเขือลงไปในแกงกะทิต่างๆ  อย่างเช่น แกงเขียวหวาน เป็นต้น

ตรวจสอบคุณค่าทางโภชนาการจากมะเขือ

 

การปลูกมะเขือม่วงญี่ปุ่น

eggplant farm

1. การเตรียมแปลงและหลุมปลูก
ไถพรวนตากดิน 7 วัน ก่อนทำการยกแปลงควรหว่านโดโลไมท์ หรือปูนขาวในอัตรา 100 กิโลกรัมต่อ 1 ไร่ หรือตามสภาพดิน และอาจใช้ปุ๋ยอินทรีย์หว่านหลังแปลง ในอัตรา 100 – 200 กก./ไร่ การขึ้นแปลงควรทำหลังแปลงปลูกกว้าง 100-120 ซม. ร่องทางเดินกว้าง 100 ซ.ม. ระยะปลูกระหว่างต้น 100 ซม. พื้นที่ 1 ไร่ จะทำการปลูกได้ประมาณ 800 ต้น

 image

2. การปลูก
ปลูกแบบแถวเดี่ยวขุดหลุมรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์ และฟูราดานคลุกเคล้าให้เข้ากันและปักไม้หลัก(ไม้หลักควรมีความยาวไม่ต่ำกว่า 1.5 เมตร ) รดน้ำในหลุมปลูกเมื่อน้ำซึมจนหมดแล้วจึงทำการปลูกโดยให้สูงกว่าหลังแปลง 1-2 นิ้ว และห่างจากไม้หลัก 2 นิ้ว การปฏิบัติดูแลรักษาช่วงหลังการปลูก โดยปลูกให้สูงกว่าหลังแปลง 1-2 นิ้ว และ ห่างจากไม้หลัก 2 นิ้ว ควรปฏิบัติดูแลรักษาช่วงหลังการปลูก เช่น การให้น้ำ ให้ปุ๋ย การฉีด พ่นสารเคมี

image

3. การปฏิบัติดูแลรักษา
หลังจากดอกแรกบานให้ทำการเด็ดกิ่งแขนง โดยเว้นกิ่งแขนงใต้ดอกแรกไว้ กิ่งแขนงถัดมาให้เด็ดออกให้หมด

4. การเก็บเกี่ยว
หลังการย้ายปลูกลงแปลงแล้วประมาณ 45-50 วัน จึงเริ่มทำการเก็บเกี่ยวโดยทำการเก็บผลผลิตทุกวัน อายุการเก็บเกี่ยวที่ดีที่สุดจะนาน 4 เดือน หากใส่ใจดูแลและมีการจัดการแปลงที่ดีจะสามารถให้ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ประมาณ 5,000- 7,000 กิโลกรัม

5. ต้นทุนต่อไร่
เฉลี่ยประมาณ 15,000 บาท หากใช้ปุ๋ยอินทรีย์และสารชีวภัณฑ์ร่วมกับปุ่ยและสารเคมีก็จะช่วยควบคุมต้นทุนได้

 

**สนใจปลูกมะเขือม่วงญี่ปุ่น หรือต้องการคำแนะนำในการปลูก กรุณาติดต่อ บริษัท เอช ซี ซัพพลาย จำกัด โทร. 053-952256-7

Read full story

12 September 2008

Available product in September 2008

0 comments

chili 

chili's nutritionพริกสด

ทำไมพริกถึงเผ็ด??? ก็เพราะว่าพริกมีสารมหัศจรรย์ตัวหนึ่งที่ชื่อ "แคปไซซิน" (capsaicin) ยิ่งสารตัวนี้มีมากเท่าไร ความเผ็ดก็มากตามไปด้วย แต่มีผลวิจัยทางการแพทย์ระบุว่า สารแคปไซซินช่วยบรรเทาอาหารปวดของโรคไขข้ออักเสบได้ และที่น่าสนใจก็คือ คนที่รับประทานอาหารที่ประกอบไปด้วยพริกเป็นประจำ จะมีความเสี่ยงต่ำต่อโรคหัวใจ และเส้นเลือดอุดตัน เนื่องจากสารแคปไซซินมีส่วนช่วยลดโคเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ และการอุดตันของเส้นเลือด

นอกจากแคปไซซินแล้ว ในพริกสีแดงยังอุดมไปด้วย เบต้าแคโรทีน (beta-carotene) หรือโปร-วิตามินเอ และวิตามินซี ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งอีกด้วย

สำหรับสาวๆคงจะถูกใจหากได้ทราบว่าความเผ็ดร้อนของพริกทำให้เกิดการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย เพราะฉะนั้นมาเติมพริกลงไปเล็กน้อยในอาหารแต่ละมื้อกันดีกว่า

ในการปรุงอาหารด้วยพริก หลายคนอาจเคยประสบปัญหาแสบตา แสบผิวหนัง เนื่องจากความร้อนของพริก หากล้างด้วยน้ำแล้วยังไม่หาย วิธีแก้ไขง่ายๆก็คือให้เช็ดหรือจุ่มในนมสดแช่เย็น โปรตีนเคซีน (casein) ในนมจะช่วยขจัดอาการแสบร้อนได้

Read full story

11 September 2008

เกี่ยวกับสถานีทดลอง

0 comments

DSC09491

บนเนื้อที่มากกว่า 20 ไร่ในตำบลเวียงกาหลง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย เรามีความตั้งใจที่จะสร้างให้เกิดตัวอย่างของการทำเกษตรแบบผสมผสาน ในสถานีทดลองของเรา ประกอบด้วย

1) โรงเรือนเพาะกล้า เราผลิตต้นกล้ามะเขือม่วงญี่ปุ่นด้วยเทคนิคการเสียบยอดเข้ากับต้นมะเขือพวงพันธุ์พื้นเมือง และนำไปส่งเสริมให้เกษตรกรในพื้นที่ปลูกเพื่อส่งให้กับโรงงานอุตสาหกรรม

2) แปลงทดลอง พื้นที่แปลงทดลองแบ่งออกเป็นส่วนๆ สำหรับใช้ปลูกพืชหมุนเวียน ได้แก่ มะเขือม่วงญี่ปุ่น แตงกวายุโรป ข้าว พืชสมุนไพร และพืชผัก เพื่อช่วยลดปัญหาแรงงานและเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการแปลง เราได้นำระบบน้ำหยดเข้ามาใช้ในแปลงทดลองบางส่วน เริ่มจากแปลงปลูกมะเขือม่วงญี่ปุ่นจำนวน 3 ไร่

3) โรงเรือนเลี้ยงสัตว์  วัวและแพะ

4) บ่อปลา

 

นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมอื่นๆ เช่น การทำปุ๋ยชีวภาพและสารชีวภัณฑ์สูตรต่างๆ การเพาะและขยายเชื้อไตรโคเดอร์มา เพื่อใช้ในแปลงทดลอง และนำไปส่งเสริมและถ่ายทอดความรู้ให้กับเกษตรกรเพื่อช่วยลดต้นทุนและป้องกันปัญหาสุขภาพจากการใช้ปุ๋ยและสารเคมีทางการเกษตร

เป้าหมายของเราคือ การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการแปลงปลูก ให้ได้ผลผลิตที่ดี มีคุณภาพ และปลอดภัยต่อทั้งผู้บริโภคและสุขภาพของเกษตรกรผู้ปลูก ซึ่งเราหวังว่าการทดลองและวิจัยในสถานีทดลองแห่งนี้ จะเป็นประโยชน์และมีส่วนช่วยส่งเสริมการเกษตรของไทยให้พัฒนาต่อไป

 

We are learning by researching and developing agriculture technology based on New Theory Agricultural in more than 20 rais in Weingpapao District, Chiangrai THAILAND. Our purpose is to increasing quantity, quality, safety agricultural produces as well as farmers well-being.

H C Supply is not only support the agricultural produces but we also glad to serve the happiness and well-being to people all around the world.

Read full story

10 September 2008

Gherkin Project Part 3

0 comments

gherkin project

gherkin project

Day 19

Gherkins are keep growing upwards and gives several small fruits. We give them the adequate nutrients to encourage the production. Luckily, we don't have problem for the water supply since this is rainy season. The harvesting is coming soon!!!

Gherkin Project Part 1

Gherkin Project Part 2

Read full story

02 September 2008

Gherkin Project Part 2 - Gherkin Blossom

0 comments

gherkin project 

Day 10

It's blooming !!! and you will see a small ghekin connects to its flower.

There is some problem we found about not perfectly climb upto the net. Then we have to handle this job.

Gherkin Project Part 1

Read full story

01 September 2008

เชิญร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

0 comments

เรายินดีหากท่านต้องการคำแนะนำ หรือแลกเปลี่ยนข้อมูลและเผยแพร่ความรู้ต่างๆด้านการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นการเกษตรในด้านใดก็ตาม

 
เชิญร่วมแลกเปลี่ยนความรู้และประสปการณ์กันได้ที่นี่

 

DSC09478

Read full story

Global House, Global Hardware

0 comments

global houseAt Global House you can find many kinds of hardware and tools for gardening, building, light&electric, painting and more!!!  We spent all afternoon shopping dripper tools for our Japanese Eggplant Project, which will be cultivated in this week ,and spent  10,000 baht of for 2,000 plants that means  only 5 baht per unit.

There are tools and hardware from many countries, high grade with high price to suitable and competitive price. If you are looking for any hardware for your home Global House is a place that you will enjoy shopping there :)

Read full story
Related Posts with Thumbnails

H C Supply Co.,Ltd.. Get yours at bighugelabs.com

H C Supply Co.,Ltd.
162 Moo12 Weingkalong Sub-District, Weingpapao District, Chiangrai 57260 THAILAND
Tel. +66 (0)53 952 418 Fax. +66 (0)53 952 136
E-mail : hsuchuanfoods@hotmail.com
 

H C Supply Co.,Ltd. © 2008 Business Ads Ready is Designed by Ipiet Supported by Tadpole's Notez