23 December 2009

รับสมัครงาน บริษัท เอช ซี ซัพพลาย จำกัด

0 comments
บริษัท เอช ซี ซัพพลาย จำกัด ในเครือ บริษัท ชวี่ เฉวียน ฟูดส์ จำกัด ดำเนินกิจการจัดหาวัตถุดิบทางการเกษตรเพื่อป้อนโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร มีความต้องการพนักงานพนักงานเข้าร่วมปฏิบัติงาน 2 อัตรา
1. เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร
    คุณสมบัติ 
    ชาย/หญิง  อายุ 23-30 ปี
    วุฒิการศึกษา ปวส.(เกษตร) ถึง ปริญญาตรี (ว.ทบ.)เกษตรศาสตร์
    สามารถขับรถยนต์และรถจักรยานยนต์ได้ (มีใบขับขี่)
    มีประสบการณ์การทำงานด้านการส่งเสริมการเกษตร จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ
    สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้
    สามารถออกเดินทางปฏิบัติงานนอกพื้นที่ได้


2. เจ้าหน้าที่วิจัยโรคพืช
    คุณสมบัติ
    ชาย/หญิง  อายุ 23-30 ปี
    วุฒิการศึกษา ปริญญาตรี (ว.ทบ.)เกษตรศาสตร์ สาขาโรคพืช
    สามารถขับรถยนต์และรถจักรยานยนต์ได้ (มีใบขับขี่)
    หากมีประสบการณ์การทำงานด้านวิจัยโรคพืช จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ
    สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้
    สามารถออกเดินทางปฏิบัติงานนอกพื้นที่ได้

ผู้ใดสนใจสามารถสมัครได้ด้วยตนเอง อีเมล์ หรือทางไปรษณีย์ที่

ฝ่ายบุคคล
บริษัท เอช ซี ซัพพลาย จำกัด
เลขที่ 224 หมู่ 9 ต.เวียงกาหลง อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย 57260
โทร. 053 952256-7
โทรสาร. 053 952136
หรือที่ penporn@hotmail.com, phuphakdee@msn.com
Read full story

28 October 2009

ปลูกผักปลอดสารพิษในกระสอบเก่า

2 comments

คุณโสทร รอดคงที่ บัณฑิตหนุ่มจากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี หันหลังจากงานประจำมาเริ่มต้นทำงานเกษตรแบบพอเพียง โดยการปลูกผักแบบปลอดสารพิษในกระสอบเก่า โดยแนะนำว่าสามารถใช้ได้ทั้งกระสอบปุ๋ย, กระสอบอาหารสัตว์, กระสอบแป้งสาลี หรือกระสอบต่าง ๆ ขนาดใดก็    ได้ ยกเว้นกระสอบป่าน สำหรับกระสอบปุ๋ยบางชนิดที่น้ำซึมผ่านยากนั้นควรนำมาเจาะรูให้สามารถระบายน้ำได้ก่อน แต่ถ้าเป็นกระสอบที่น้ำซึมผ่านได้ดี ก็นำมาใช้ได้เลย

 
ดินที่จะนำมาใส่กระสอบนั้น ก็จะต้องผสมให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ โดยเน้นวัสดุปลูกที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น เช่น ปุ๋ยคอกเก่า, ปุ๋ยหมัก, แกลบ, แกลบเผา, เศษใบไม้ ฯลฯ คลุกเคล้า  ให้เข้ากัน คุณโสทรแนะว่า ถ้าผสมปุ๋ยหมักจุลินทรีย์โบกาฉิ ได้ด้วยก็จะยิ่งดี   วิธีการทำปุ๋ยหมักจุลินทรีย์ คือ นำปุ๋ยคอกเก่า 1 ส่วน ผสมกับรำละเอียด 1 ส่วน ผสมกับแกลบหรือหญ้าแห้ง ฟางแห้ง ทะลายปาล์ม หรืออื่น ๆ 1 ส่วน คลุกเคล้ากันให้ทั่ว จากนั้น นำกากน้ำตาล 40 ซีซี ละลายน้ำ 10 ลิตร ใส่จุลินทรีย์ 40 ซีซี คนให้เข้ากัน

 
หลังจากนั้นนำน้ำที่ได้ไปราดคลุกเคล้ากับวัสดุที่เตรียมไว้ก่อนหน้านี้แล้วทดสอบว่า วัสดุปลูกใช้ได้หรือยัง ทดสอบโดยใช้มือขยำวัสดุปลูกดู หากยังมีน้ำไหลออกระหว่างนิ้ว แสดงว่าวัสดุปลูกแฉะเกินไป ให้เพิ่มวัสดุเข้าไปอีก ถ้าขยำเป็นก้อน แล้วปล่อยมือ ถ้าก้อนไม่แตกออกมาแสดงว่าพอดี ถ้าปล่อยมือแล้วก้อนวัสดุแตกทันที แสดงว่าวัสดุยังแห้งเกินไป ให้ราดน้ำจุลินทรีย์เพิ่มลงไป หมักวัสดุดังกล่าวโดยการกองไว้ในที่ร่ม    ใช้กระสอบป่านคลุม ควรกลับกองวันละ 1 ครั้ง กลับกองปุ๋ยเรื่อยไปจนกว่าจะเย็น ซึ่ง   ปุ๋ยหมักจุลินทรีย์ จะ  นำมาใช้ได้ก็ราว 7-  10 วัน

  ก่อนที่จะใส่วัสดุปลูกลงในกระสอบนั้น ผู้ปลูกจะต้องรู้ก่อนว่าจะปลูกผักชนิดใด เพื่อใส่ดินให้เหมาะกับชนิดผักนั้น ๆ เช่น ถ้าปลูกผักที่มีรากยาว อย่างพริก, มะเขือเทศ, มะเขือเปราะ, มะเขือยาว ฯลฯ เราก็ต้องพับหรือม้วนปากกระสอบลงมาแล้วใส่ดินปลูกให้สูง 20-25 ซม. ถ้าปลูกผักที่มีรากสั้น อย่างผักกินใบ พวกคะน้า, กวางตุ้ง, ฮ่องเต้ ฯลฯ ก็ใส่ดินน้อยลงมา ให้สูงสัก 10-15 เซนติเมตร แต่การวางกระสอบในแนวตั้งจะทำให้ได้พื้นที่ในการปลูกน้อยแนะนำให้ใช้วิธีการใส่ดินในกระสอบประมาณครึ่งกระสอบแล้วมัดปากกระสอบด้วยเชือก วางกระสอบให้นอนลง จากนั้นก็ทำการเจาะรูที่กระสอบ อุปกรณ์ในการเจาะ หากระป๋องปลากระป๋องมาทาบแล้วใช้มีดคัตเตอร์ตัดเป็นวงกลม เพื่อให้ หยอดเมล็ดผักได้ โดยจำนวนรูที่เจาะก็ตามความเหมาะสมประมาณ 9-12 รู แล้วแต่ขนาดของกระสอบ จากนั้นนำเมล็ดผักมาหยอดปลูกได้ทันที รดน้ำเช้า-เย็น เมื่อต้นผักงอก มีใบจริง 2-3 ใบ ก็ให้รดน้ำหมักชีวภาพ.

ทวีศักดิ์ ชัยเรืองยศ http://www.dailynews.co.th

Read full story

'ก๊าซชีวภาพ' จากขี้หมูสู่ครัวเรือน

0 comments

k1 
"ก๊าซชีวภาพ” หรือ “ก๊าซขี้หมู” ของบ้านสบสาหนองฟาน ต.ดอน แก้ว อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ เกิดขึ้นจากความขัดแย้งระหว่างเจ้าของฟาร์มกับชาวบ้านเมื่อเกือบ 10 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากปัญหามลพิษและกลิ่นเหม็นที่เกิดขึ้นจากการเลี้ยงหมู จึงทำให้ผู้ใหญ่บ้านซึ่งเป็นเจ้าของฟาร์ม ร่วมกับหน่วยงานราชการสร้างระบบบ่อหมักก๊าซชีวภาพขึ้นเพื่อแก้ปัญหาเรื่องมลพิษและแมลงวัน แล้วก็ต่อท่อก๊าซไปให้ชาวบ้านได้ใช้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ทำให้ชาวบ้านสามารถประหยัดค่าก๊าซหุงต้มไปได้ไม่น้อยกว่าครัวเรือนละ 50-100 บาทต่อเดือน

หลังจากนั้นชาวบ้านต่างคนก็ต่างใช้โดย ปล่อยบ่อหมักก๊าซทำงานไปตามธรรมชาติ โดยขาดการดูแลรักษา เวลาผ่านไปปริมาณก๊าซเริ่มน้อยลงจนไม่เพียงพอต่อการใช้งาน จนชาวบ้านขาดความเชื่อมั่นในระบบพลังงานทดแทน ส่งผลให้ชาวบ้านหลายคนเริ่มคิดว่าการใช้พลังงานทดแทนที่จะมาแทนก๊าซหุงต้มไม่น่าจะเป็นไปได้จริงอย่างยั่งยืน ทำให้สมาชิกที่ใช้ก๊าซในหมู่บ้านเริ่มลดน้อยลงเรื่อย ๆ จากเดิมที่ใช้กันทั้งหมู่บ้านไม่น้อยกว่า 100 หลังคาเรือนก็ลดลงเหลือไม่ถึง 60 หลังคาเรือน
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหา วิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จึงได้วิจัยเรื่อง “การใช้ประโยชน์ของเสียจากฟาร์มสุกร โดยการ แปรสภาพเป็นพลังงานทดแทนในชุมชน

นายสุรศักดิ์ นุ่มมีศรี อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ระบุว่า ถ้าปล่อยแบบนี้ต่อไปพลังงานก็จะถูกทิ้งร้าง ไม่ได้รับการนำไปใช้ประโยชน์  ชาวบ้านก็จะไม่ได้มีพลังงานทางเลือกอื่น จึงได้จัดเวทีพบปะพูดคุยเพื่อแสวงหาทางออกร่วมกันขึ้นมาเพื่อให้ชาวบ้านได้มองเห็นว่าแต่ก่อนนี้เป็นอย่างไร  ปัจจุบันระบบก๊าซเขาเป็นอย่างไร   เสื่อมโทรมมากน้อยแค่ไหน โดยให้พ่อหลวงเป็นคนเล่าให้ฟัง แล้วก็ถามถึงอนาคตของชาวบ้านว่าอยากจะมีทางออกอย่างไรโดยให้ทุกคนได้ร่วมแสดงความคิดเห็น  ชาวบ้านก็บอกว่าอยากจะมีพลังงานที่ดีขึ้น  มีพลังงานที่เพียงพอ จึงได้เชิญนักวิชาการมาพูดคุยให้ฟังว่า ถ้าจะทำให้พลังงานเพียงพอก็จะต้องมีการล้างบ่อ มีการเปลี่ยนระบบท่อใหม่ ชาวบ้านก็หาทางออกร่วมกันอีกครั้งเพื่อรักษาระบบพลังงานทดแทนนี้ โดยเต็มใจที่จะจ่ายครัวเรือนละ 10 บาทต่อเดือน  สำหรับเป็นค่าดูแลรักษาระบบการผลิตและระบบท่อส่งก๊าซทั้งหมด

นายสุทัศน์ คำมาลัย ผู้ใหญ่บ้านบ้านสบสาหนองฟาน และเจ้าของฟาร์มหมูซึ่งเป็นผู้ผลิตก๊าซชีวภาพให้กับชุมชน เล่าว่าปัจจุบันมีชาวบ้านที่ใช้ก๊าซจากขี้หมูจำนวน 87 ครัวเรือน โดยมีกติกาของชุมชนคือเก็บบ้านละ 10 บาท ส่วนบ้านที่ค้าขายอาหารทำร้านก๋วยเตี๋ยวก็เต็มใจที่จะจ่ายเพิ่มเป็นเดือนละ  30 บาท โดยเงินที่รวบรวมได้จะนำไปฝากธนาคาร เพื่อเอาไว้บำรุงรักษากรณีท่อแตก ล้างบ่อ และซ่อมระบบ

“ชาวบ้านตกลงกันว่าจะล้างทุก ๆ 6 เดือน เพราะที่ผ่านมาเกือบ 10 ปีเราไม่เคยได้ล้างบ่อเลย เพราะไม่เคยรู้ว่าจะต้องล้าง ทำให้ปีหลัง ๆ มีก๊าซน้อยมาก เพราะว่าข้างในบ่อหมักก๊าซเต็มไปด้วยขยะ และเศษดินเข้าไปปะปนจนแน่นบ่อ จนต้องใช้เวลาล้างกันเป็นอาทิตย์ หลังจากนั้นจึงมีก๊าซขึ้นมาสม่ำเสมอ แต่จะมีปัญหาบ้างก็ตอนฝนตกหนัก เพราะมีน้ำเข้าไปในบ่อเยอะเกินไปทำให้ก๊าซน้อยลง และบางครั้งในหน้าหนาวก็อาจจะมีก๊าซน้อยเพราะอากาศเย็นอุณหภูมิไม่เหมาะสม แต่ก๊าซที่ได้ก็เพียงพอต่อการใช้งานทุกครัวเรือน เพราะชาวบ้านใช้แค่หุงต้มไม่ได้ทำอะไรมาก แต่ทุกบ้านก็จะมีถังก๊าซหุงต้มสำรองไว้”  สุทัศน์กล่าว

...ก๊าซขี้หมูตอนนี้มีให้ใช้ได้ทั้งวันและไม่มีกลิ่นขี้หมู โดยแตกต่างจากก๊าซหุงต้มก็ตรงเรื่องของความร้อนที่จะร้อนช้ากว่าเท่านั้น แต่ก็สามารถประกอบอาหารทุกอย่างได้ตามปกติ…นับเป็นความสำเร็จที่เกิดจากความร่วมมือร่วมใจกันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง.

http://www.dailynews.co.th

Read full story
Related Posts with Thumbnails

H C Supply Co.,Ltd.. Get yours at bighugelabs.com

H C Supply Co.,Ltd.
162 Moo12 Weingkalong Sub-District, Weingpapao District, Chiangrai 57260 THAILAND
Tel. +66 (0)53 952 418 Fax. +66 (0)53 952 136
E-mail : hsuchuanfoods@hotmail.com
 

H C Supply Co.,Ltd. © 2008 Business Ads Ready is Designed by Ipiet Supported by Tadpole's Notez