ในการปรับปรุงคุณภาพดินของสถานีทดลอง พบว่าผลวิเคราะห์ดินของสถานีทดลองมีค่า pH ค่อนข้างเป็นกรดเล็กน้อย แต่มีอินทรียวัตถุต่ำมากและมีแคลเซียมต่ำกว่าค่ามาตรฐานที่พืชต้องการถึง 10 เท่า ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเตรียมปุ๋ยหรือเศษอินทรียวัตถุเพิ่มลงในดิน การเพิ่มแคลเซียมสามารถใช้เศษเปลือกไข่บด หรือหินปูนบดที่ไม่เผาไฟประมาณ 200 กิโลกรัมต่อไร่ แต่ถ้าหาไม่ได้ก็ใช้โดโลไมท์แทนก็ได้ในอัตราเดียวกัน
วิธีการคำนวณปุ๋ยอินทรีย์สำหรับดินขนาด 1 ไร่
สมมติให้รากพืชสามารถหาอาหารได้ในความลึกเพียง 10 ซม. เท่านั้น (ในความเป็นจริงค่าจะมากกว่านี้) ดังนั้นคำนวณค่าต่างๆคือ
(1) พื้นที่ 1 ตร.ม. เท่ากับมีดิน 0.1 ลูกบาศก์เมตร
(2) พื้นที่ 1 ไร่เทียบเป็นตารางเมตรได้ 1,600 ตร.ม. จึงเท่ากับมีปริมาณดิน 160 ลบ.ม.
(3) ค่าความหนาแน่นของดิน พบว่าดินทั่วไปมีค่าเท่ากับ 1.3 – 1.5 กรัม/ลบ.ซม. คิดที่สูงสุดเพราะเป็นดินเหนียวหนาแน่นมาก คือ 1,500 กรัม ต่อ ลิตร หรือ 1.5 ตัน/ลบ.ม.
(4) ปริมาณดิน 1 ลบ.ม. มีน้ำหนัก 1.5 ตัน นั่นคือ ดิน 1 ไร่ที่คิดหน้าดินลึกเพียง 10 ซม.จะมีน้ำหนักเท่ากับ 160 x 1.5 = 240 ตัน หรือ 24,00 กิโลกรัม
ผลการวิเคราะห์ดินของสถานีทดลองพบว่ามีอินทรียวัตถุ 0.97 หรือประมาณ 1% ในขณะที่ค่ามาตรฐานอยู่ที่ 3% และโดยทั่วไปปุ๋ยอินทรีย์จะมีอินทรียวัตถุ 50%
ทำการเทียบแบบ Pearson’s Square* จะได้ว่า
นั่นหมายความว่าใช้ดิน 47 ส่วนผสมกับปุ๋ยอินทรีย์ที่มีอินทรียวัตถุ 50% จำนวน 2 ส่วนจะได้อินทรียวัตถุในดิน 3% เมื่อเทียบบัญญัติไตรยางศ์จะได้
ดิน 47 กิโลกรัม ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ 2 กิโลกรัม
ดิน 24,00 กิโลกรัม จะใช้ปุ๋ยอินทรีย์ 2 x 24,000 = 1,021.28 กก.
47
นั่นคือต้องใช้ปุ๋ยอินทรีย์ครั้งละ 1.02 ตันต่อไร่ในแต่ละครั้ง แต่อินทรียวัตถุจะสลายตัวหมดได้ไม่เกิน 2 เดือน ดังนั้นทั้งปีจึงต้องใช้ปุ๋ยอินทรีย์บำรุงดินขั้นต่ำ 6 ตันต่อไร่ จึงจะสามารถรักษาระดับอินทรียวัตถุในดินได้ตามความต้องการของพืช
* การคำนวณโดยใช้สี่เหลี่ยมของเพียร์สัน (Pearson's square method)
เป็นวิธีคำนวณโดยอาศัยรูปสี่เหลี่ยม เหมาะสำหรับใช้เมื่อมีวัตถุดิบเพียงสองชนิดหรือสองกลุ่ม และปริมาณที่ต้องการคำนวณจะต้องมีหน่วยในรูปร้อยละเท่านั้น ในกรณีของการคำนวณเพื่อปรับปรุงดินปริมาณอินทรีย์วัตถุที่ต้องการจะต้องมีค่าอยู่ระหว่างจำนวนอินทรีย์วัตถุที่มีอยู่ในวัตถุดิบของทั้งสองกลุ่ม
ขั้นตอนในการคำนวณ มีดังนี้
1. เขียนปริมาณอินทรีย์วัตถุที่ต้องการเป็นร้อยละไว้ตรงกึ่งกลางของรูปสี่เหลี่ยม ในที่นี้คือ 3
2. เขียนปริมาณอินทรีย์วัตถุซึ่งอยู่ในวัตถุดิบแต่ละชนิดที่ต้องการใช้ทั้งสองชนิดเป็นร้อยละ ไว้ตรงมุมซ้ายทั้งบน และล่างของรูปสี่เหลี่ยม ในที่นี้คือ ดิน = 1 และ ปุ๋ย = 50
3. หาผลต่างระหว่างตัวเลขที่มุมซ้ายกับตัวเลขกึ่งกลางของรูปสี่เหลี่ยมคำนวณแล้วใส่ผลต่างไว้ทางมุมขวาตามแนวเส้นทะแยงมุมของ ตัวเลขที่ใช้หาผลต่างดิน 1-3 = 2
ปุ๋ย 50 –3 = 47
4. ตัวเลขที่ได้ทางมุมขวาเป็นปริมาณหรือสัดส่วนของวัตถุดิบที่เมื่อผสมวัตถุดิบทั้งสองชนิดตามสัดส่วนที่ได้นี้จะได้ดินที่มีจำนวนอินทรีย์วัตถุตรงกับความต้องการที่กำหนดไว้อ้างอิง : อ.ธาตรี จีราพันธุ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์
0 comments:
Post a Comment
เชิญร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น